วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2559

ประเพณีแข่งเรือยาว



ประเพณีแข่งเรือยาว






ประวัติความเป็นมา

ในอดีตการปกป้องรักษาบ้านเมือง นอกจากมีกำลังพลกองทัพบกแล้ว กำลังพลกองทัพ เรือ ก็มีความสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ ตั้งแต่สมัย  กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำลังรบ ทางเรือในลำน้ำ แม่น้ำลำคลอง ใช้เรือพายเป็นหลัก การรบจะเรือพายเข้ามาชิด เรือข้าศึก และฝีพาย ซึ่งเป็นกำลังรบด้วย จะทำการเข้าประชิดตัวข้าศึก ทำการรบพุ่งกับ ข้าศึก. ดังนั้นเรือพายจึงเป็นกำลังหลักทางน้ำ ในยามบ้านเมืองสงบปราศจากข้า ศึก กองทัพเรือได้ทำเรือพายมาใช้ในการแข่งขันกีฬา เช่น การเล่นเพลาเรือ พระ เพณีพรและประเพณีแข่งเรือ
 พื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำมาบประชันซึ่งเป็นแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำสำหรับการบริโภคและอุปโภคของประชาชนในพื้นที่และในแหล่งท่องเที่ยวเมืองพัทยา โดยบริเวณพื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำมีบรรยากาศร่มรื่น ประชาชนได้ร่วมกันปลูกต้นไม้จนเติบโตเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ในน้ำก็เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำที่ชาวบ้านได้อาศัยจับปลาด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้านเป็นอาหารสำหรับครัวเรือน
       การแข่งขันเรือยาวเป็นกีฬาพื้นบ้านของไทยมาตั้งแต่อดีตเมื่อสมัยอยุธยาเป็นราชธานี ถือว่าเป็นราชพิธีประจำเดือนในช่วงปลายฤดูฝน การแข่งขันเรือยาว จึงได้สืบทอดมาเป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย แสดงถึงวิถีชีวิตความสนุกสนาน ความสามัคคี ซึ่งเห็นได้จากที่มีการจัดให้มีประเพณีแข่งขันเรือยาวทุกภาคของไทย
       การบรวงสรวงก่อนการแข่งขันเรือยาวพัทยา เทศบาลเมืองหนองปรือและเทศบาลตำบลโป่ง จัดให้มีประเพณีการแข่งขันเรือยาวพัทยา  โดยจัดขึ้นเป้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๔๔  และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานถ้วยรางวัล การแข่งขัน และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานถ้วยรางวัลการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล พิธีบรวงสรวงก่อนเริ่มงานจึงมีขึ้น สำหรับเวลาที่จะกระทำมักจะดำเนินการก่อนบ่ายของวันจัดงานการแข่งขันเรือยาวประเพณี (เดือนพฤศจิกายนของทุกปี) สำหรับ
ปี ๒๕๕๕ ผู้ทำพิธีกรรม คือ นายอเนก พัฒนงาม ประธานสภาวัฒนธรรมเมืองพัทยา สถานที่ประกอบพิธีอ่างเก็บน้ำมาบประชัน สำหรับเครื่องบูชามีอาหารคาว –หวาน –ผลไม้ต่าง ๆ
     การแข่งขันเรือยาวประเพณี มรดกวัฒนธรรมทางสายน้ำที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ เรือและผู้คน บนพื้นฐานความสามัคคีพร้อมเพรียง เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในชุมชน ประเพณีการแข่งขันเรือยาวที่มักจัดคู่ไปกับการเข้าวัดทำบุญตักบาตร เนื่องในเทศกาลออกพรรษา ทอดกฐินผ้าป่าสามัคคีประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณีนี้ เป็นเกมกีฬาเก่าแก่ย้อนกลับไปถึงสมัยอยุธยากรุงเก่า เป็นที่นิยมเล่นกันทั้งภายในพระราชวังไปจนถึงชาวบ้านร้านตลาด  ดังที่มีปรากฏในกฏมณเทียรบาลเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ได้กล่าวถึงพระราชพิธีเดือน ๑๑ จะมีการแข่งเรือยาวขึ้น เพื่อเป็นการฝึกปรือกำลังพลทหารประจำกองเรือส่วนการแข่งขันเรือยาวประเพณีของชาวบ้านทั่วไป จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นในช่วงเทศกาลทอดกฐินด ทอดผ้าป่า ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงเดือน ๑๑ – ๑๒ ซึ่งจะตรงกับฤดูน้ำหลากพอดี ชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำซึ่งใช้เรือเป็นพาหนะอยู่แล้ว เมื่อถึงหน้ากฐิน ผ้าป่าสามัคคีก็มักจะนิยมนำเรือมาร่วมขบวนแห่ผ้ากฐิน องค์ผ้าป่าไปยังวัดอยู่แล้ว หลังพิธีการทางศาสนาจบลง จะมีการแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน







ปัจจุบันการแข่งขันเรือยาวพัฒนาจากการละเล่นกีฬาเชื่อมความสามัคคีของคนในชุมชนกลายเป็นเกมกีฬาระดับประเทศชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯวันนี้ กลายเป็นกีฬาทางน้ำที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในหลายๆ สนามแข่งขัน ตามลุ่มน้ำสำคัญในประเทศ เช่น ประเพณีแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิต การแข่งขันเรือยาวจังหวัดน่าน การแข่งขันเรือยาวจังหวัดชุมพร  และจังหวัดอื่นๆ ที่เป็นลุ่มน้ำสำคัญในประเทศไทยการแบ่งประเภทการแข่งขันเรือยาว จะแบ่งตามขนาดของเรือ  เรือยาวใหญ่  ๔๑ – ไม่เกิน ๕๕ ฝีพาย  เรือยาวกลาง ฝีพาย ๓๑ – ไม่เกิน ๔๐ ฝีพาย  และเรือยาวเล็กที่มีฝีพายไม่เกิน ๓๐ ฝีพาย โดยเรือจะขุดขึ้นจากต้นตะเคียนทั้งต้นโดยช่างขุดเรือที่มีฝีมือในการขุดเรือ  ส่วนระยะทางที่ใช้แข่งขัน จะมีระยะทางประมาณ ๖๐๐ – ๖๕๐ เมตร โดยจะมีทุ่นบอกระยะทุกๆ ๑๐๐ เมตรกติกาการแข่งขันเรือยาวประเพณี ใช้ระบบแพ้คัดออก โดยจับคู่แข่งขันกัน หากเรือฝ่ายใดแข่งชนะ ๒ ครั้ง ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ แต่ถ้าผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ฝ่ายละเที่ยวก็จะต้องมาตัดสินในการแข่งเที่ยวที่ ๓
จุดประสงค์สำคัญของการจัดแข่งขันเรือยาวประเพณี ไม่ว่าจะเป็นสนามใดก็ตาม คือ สร้างความสามัคคีของฝีพายในเรือลำเดียวกัน  ความเสียสละของฝีพายที่จะต้องขยันหมั่นซ้อมพาย ทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และเสน่ห์ของเกมกีฬาประเภทนี้อีกอย่างก็คือ จังหวะ ความพร้อมเพรียงในการพาย การจ้วงพายให้เร็วขึ้นเมื่อเข้าใกล้เส้นชัย กระชับ รวดเร็วแต่พร้อมเพรียงกัน การแข่งขันที่ให้คนดูได้ลุ้นอยู่ตลอดเวลา และการพากย์เสียงของพิธีกรประจำสนามที่ต้องยอมรับว่าสร้างความตื่นเต้นเร้าใจให้กับการแข่งขันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
แนบรูปยาวๆ















วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

exo ผัวที่รัก

exo 






 


ประวัติ exo
จากเด็กหนุ่มที่ไม่มีใครรู้จัก จนกลายเป็นไอดอลที่มีชื่อเสียงมากในเกาหลีและจีน โดยเริ่มเดบิวต์ตั้งแต่ปี 2013 โดยใช้เพลง MAMA เป็นเพลงในการเปิดตัว โดยครั้งแรกเปิดตัวโดยมีสมาชิก 12 คน โดยแบ่งออกเป็น exo-k และ exo-m 
exo-k มีสมาชิกดังนี้
1. ซูโฮ (ลีดเดอร์ของวงและเป็นลีดเดอร์ของฝั่ง k)
2. ชานยอล (แร็ปเปอร์)
3. แบคฮยอน (เสียงหลัก)
4. ดีโอ (เสียงหลัก)
5. ไค (เต้นหลัก)
6. เซฮุน (เต้นและแร็ป)
exo-m มีสมาชิกดังนี้
1. คริส (ลีดเดอร์)
2.ลู่ฮาน (เสียงหลัก)
3. เฉิน (เสียงหลัก)
4. ซิ่วหมิน (เสียงรอง)
5. เทา (แร็ปเปอร์)
6. เลย์ (เต้นหลัก)
  โดยทั้ง 12 คนต่างมีความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ไปดูโฉมหน้าของพวกเขากันค่ะ
1. ซูโฮ ลีดเดอร์ผู้น่ารักของเรา มีผิวที่ขาวมากจนน่าอิจฉา ร้องเพลงเพราะมากกกกกกกกกก (ไม่ค่อยยอเลยจนจริง)

2. ชานยอล แร็ปเปอร์คนหล่อเหลา หูกางเป็นเอกลักษณ์

3. แบคฮยอน หมาน้อยน่ารักที่มีเสียงที่สูงมากก อ้วนเตี้ย55555555555 และมีนิ้วที่เรียวจนผู้หญิงต้องอิจฉา

4. ดีโอ หนุ่มน้อยผู้ตาโต มีเสียงที่หวานปานน้ำผึ้ง และยังมีการต่อสู้ที่หลายๆคนต้องกลัว555

5. ไค หนุ่มผิวแทนที่มีการเต้นที่เซ็กซี่ ฮ้าา 

6. เซฮูน มักเน่ของวง หรือน้องเล็กนั่นเอง มีความสามารถคือเสียงเป็ดๆ555 และมีสันดั้งที่น่ากิน

7. เฮียคริสที่(ดู)รวยและหล่อมากก แต่สุดท้ายนั้นก็อึนอยู่ดี555 (ปัจจุบันออกจากวงแล้ว)

8. ลู่ฮานหนุ่มน้อยจากปักกิ่ง ตาหวานปานน้ำผึ้งง งืมมม (ปัจจุบันออกจากวงแล้ว)

9. เฉินเสียงทรงพลังที่ออกมาจากโหนกแก้มของอูฐ55555

10. ซิ่วหมินเปาน้อยแต่เป็นพี่ใหญ่ของวงจะเชื่อมั้ย555 ซาลาเปานุ้งหมินน

11. เทาผู้ชายโคตรแมนที่มีการต่อสู้เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น (ปัจจุบันออกจากวงแล้ว)

12. เลย์ยูนิคอร์นผู้ใจดี มอบความรักและความอบอุ่นให้กับเหล่าสมาชิกเสมอ ไม่เคยบ่นว่าตัวเองเหนื่อยเพียงแค่อยู่ข้างๆ exo ตลอดไป


ไหนใครชอบคนไหนกันบ้าง5555 เดี๋ยวบล็อกต่อไปเราจะมารู้จักนิสัยของแต่ละคนอย่างลึกซึ้งกว่านี้ดีกว่านะ55555 บายยย












วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สถานที่นท่องเที่ยวภาคกลาง








ทุ่งทานตะวัน ลพบุรี

ในจังหวัดลพบุรี, จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดสระบุรี มีการทำไร่ทานตะวันกันมากในช่วงฤดูหนาวราวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ริมฝั่งถนนจะสะพรั่งไปด้วยสีเหลืองทองอร่าม งดงามกว้างไกลสุดสายตาของดอกทานตะวัน บานชูช่อเป็นที่สะดุดตาแก่ผู้ผ่านมาบริเวณนี้เป็นอย่างมาก
จังหวัดลพบุรี  

          สำหรับจังหวัดลพบุรีมีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000-300,000 ไร่ ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม โดยแหล่งที่ปลูกทานตะวัน จะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ที่ปลูกเป็นจำนวนมาก 

          จังหวัดลพบุรี ขอเชิญร่วมสัมผัสความสวยงามของท้องทุ่งทานตะวันใน "เทศกาลทุ่งทานตะวันบานลพบุรี" ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 ถึง 31 มกราคม 2559 ณ อำเภอเมือง, อำเภอหนองม่วง, อำเภอพัฒนานิคม, อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

          ภายในงานนักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจได้หลากหลายอย่าง อาทิ กิจกรรมถ่ายภาพ, ชมวิว, นั่งรถราง หรือขี่จักรยานชมทุ่งทานตะวัน ทามกลางบรรยากาศหุบเขาทานตะวัน รวมทั้งยังมีการจัดบูธจำหน่ายสินค้า OTOP และร่วมกิจกรรมทางทหาร อาทิ การยิงปืน พายเรือยาง และศึกษาการดำรงชีพในป่าอีกด้วย ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  TAT Call Center 1672  หรือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี โทรศัพท์ 0 3642 2768-9